โดเมน หรือ โดเมนเนม (Domain Name) คือ ชื่อที่ใช้ระบุ ตำแหน่งที่อยู่เนื้อหาเว็บไซต์ ซึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่มีค่าหมายเลข IP ซึ่งปกติ จะไม่มีใครจำค่าหมายเลข IP กัน จึงต้องมีการกำหนด เป็นชื่อเรียกขึ้นมาให้จำง่ายๆ เปรียบเหมือนบ้านเลขที่ เช่น หากเราไปถามคน ในเขตหมู่บ้าน ใดซักแห่งหนึ่ง เราถามเขาว่า “พี่รู้จักบ้านเลขที่ 90/227 ไม๊” ส่วนใหญ่จำกันไม่ได้ แต่ถ้าถามว่า รู้จักบ้าน “ไอ้ป้อมไม๊” คนแถวนั้น ก็จะจำกันได้ง่ายกว่าบ้านเลขที่
การจดทะเบียนชื่อโดเมน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ
.com ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
.net ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
.org ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย
2. การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ
.co.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป ที่จดทะเบียนนิติบุคคล หรือจดเครื่องหมายการค้าแล้ว
.or.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององค์กร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการ เป็นหลักฐานการจดทะเบียน ด้วย
.ac.th ใช้ทำเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาต ก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
.go.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่
.in.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้นโยบายชื่อโดเมน ของ THNIC การจดโดเมนนี้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
เอกสารสำหรับจดโดเมน ที่ลงท้ายด้วย .th
หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อโดเมน
– ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
– สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
– ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ตัวเล็ก หรือตัวใหญ่ก็ได้ (ค่าเหมือนกัน)
– ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ domain
– ห้ามเว้นวรรคในชื่อโดเมน
– ไม่สามารถใช้ตัวอักขระอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และขีดกลางได้
– ปัจจุบันสามารถจดชื่อโดเมน เป็นภาษาไทย ได้แล้ว